น.พ.บรรลือ กองไชย
3 มิ.ย. 2566
งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของ NAD+ และสภาวะโลหิตจาง
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ใน Journal of Cellular and Molecular Medicine โดย หยางและคณะจากมหาวิทยาลัยจี้หนาน ประเทศจีน เพื่อดูความสัมพันธ์ของ NAD+ และสภาวะโลหิตจาง
การศึกษานี้ ใช้ผู้หญิง จำนวน 727 คน อายุเฉลี่ย 42.7 ปี โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามระดับของ NAD+ ในเลือด
กลุ่มที่ 1 (Q1) มีระดับของ NAD+ ในเลือด น้อยกว่า 27.6 ไมโครโมลล์ ( µM )
กลุ่มที่ 2 (Q2) มีระดับของ NAD+ ในเลือด อยู่ระหว่าง 27.6 – 31.0 ไมโครโมลล์ ( µM )
กลุ่มที่ 3 (Q3) มีระดับของ NAD+ ในเลือด อยู่ระหว่าง 31.0 – 34.5 ไมโครโมลล์ ( µM )
กลุ่มที่ 4 (Q4) มีระดับของ NAD+ ในเลือด มากกว่า 34.5 ไมโครโมลล์ ( µM )
กลุ่มที่มีระดับ NAD+ สูงจะมีอัตราเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะโลหิตจางต่ำกว่ากลุ่มที่ NAD+ ต่ำ และกลุ่มที่มีระดับ NAD+ ต่ำที่สุด จะมีอัตราเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะโลหิตจางสูงที่สุดด้วย ทางทีมวิจัยจึงแนะนำว่าการให้ NAD+ ในการรักษาสภาวะโลหิตจาง
จากกราฟ จะเห็นว่า ถ้าระดับของ NAD+ ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จำนวนของคนที่เป็นสภาวะโลหิตจางจะลดน้อยลง ตัวอย่างเช่น ในกลุ่มที่ 1 (Q1) ที่มีระดับของ NAD+ ต่ำที่สุดจะมีผู้หญิงที่เป็นสภาวะโลหิตจางมากถึง 19.7% ในขณะที่กลุ่มที่ 4 (Q4) ที่มีระดับ NAD+ สูงสุดจะมีสัดส่วนผู้หญิงที่เป็นสภาวะโลหิตจางเพียง 2.7%
ผู้หญิงจำนวนมากจะเกิดสภาวะโลหิจจางในช่วงที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตร เนื่องมาจากการขาดธาตุเหล็ก ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบิน (ช่วยจับกับอ๊อกซิเจนในเม็ดเลือดแดง) ถ้าขาดธาตุเหล็ก การนำพาอ๊อกซิเจนของเม็ดเลือดแดงก็จะลดลง
คณะผู้วิจัยพบว่า ผู้หญิงที่มีระดับ NAD+ สูง จะมีระดับของฮีโมโกลบินสูงด้วย และยังพบด้วยว่าระดับ NAD+ ที่สูงจะสัมพันธ์กับจำนวนเม็ดเลือดแดงที่มากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า มีการส่งอ๊อกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
สรุป - ผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ ควรได้รับ NMN ในระหว่างตั้งครรภ์ จนถึงช่วงหลังคลอดบุตร เพื่อหลักเลี่ยงความเสี่ยงจากสภาวะโลหิตจาง